วันพฤหัสบดีที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2557

Program Web Browser


Web browser คืออะไร

“Web browser คืออะไร” เป็นคำถามที่ผมยังสงสัยว่าทำไมคนยังคงถามและเรายังได้ยินบ่อยมาก ทั้งจากเด็ก วัยรุ่น และผู้ใหญ่ คือถามกันเกือบทุกวัยเลยก็ว่าได้ ที่เป็นเช่นนี้ ผมเดาเอาว่า ไม่ใช่ว่าพวกเราจะไม่รู้ซะเลยที่เดียวว่า Web browser คืออะไร เพราะหลายๆท่าน (รวมทั้งผมด้วย) ต่างก็ใช้งานมันอยู่ทุกวัน อย่างน้อยทุกคนก็ต้องรู้ละว่า Web browser (เว็บบราวเซอร์) คือโปรแกรมหรือซอฟต์แวร์ที่ใช้ท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในเว็บไซต์ แต่นิยามที่แต่ละคนให้ ถึงจะไม่ผิด แต่ก็มีความหลากหลาย ไม่เหมือนกัน ไม่ครอบคลุม หรือไม่ถูกต้องเสียทีเดียว ซึ่ง หลังจากได้ค้นหาและอ่านนิยามจากหลายๆ เว็บ ผมขอให้ความหมายของ Web browser ใหม่ ดังนี้
Web browser คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลเและติดต่อสื่อ สารกับระบบสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของเว็บเพจ ซึ่งอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า World Wide Web (WWW)

Web browser คืออะไร ความหมายจากหลายๆ เว็บไซต์

ช่วงน้ำท่วม ผมอยู่ว่างๆ เลยลองค้นดูใน Google ว่ามีใครให้ความหมายหรือนิยาม “Web browser คืออะไร” ไว้อย่างไรบ้าง จากผลการค้นหาผมไม่เจอคำนิยามจากหน่วยการที่น่าจะใช้อ้างอิงได้ อย่าง กระทรวงไอซีที หรือหน่วยงานด้านภาษาต่างๆ แต่เจอในเว็บของสถานศึกษาและเว็บเกี่ยวกับไอทีอยู่พอสมควร ในที่นี้ผมขออนุญาตนำ 2-3 ความหมายที่คิดว่าน่าจะถูกต้องมาลงไว้ด้วย ดังนี้
Web browser คือ
“โปรแกรม ที่ใช้สำหรับท่องอินเทอร์เน็ต (sufring the Internet) คือใช้ในการเปิด web page และอย่างอื่นอีกมาก” - http://www.vcharkarn.com/vblog/36733
“โปรแกรมที่ใช้สำหรับเป็นประตูเปิดเข้าสู่โลก WWW (World Wide Web) หรือพูดกันอย่างง่ายก็คือโปรแกรม
ที่ใช้สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ตที่เรานิยมใช้กันอยู่ทุกวันนี้ โดยเว็บเบราว์เซอร ์ (Web Browser) จะเข้าใจในภาษาHTML นี้คือเหตุผลว่าทำไมต้องใช้ภาษา HTML ในการสร้างเว็บเพจ เพราะโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์นั่นสามารถเข้าใจ และสามารถทำงานตามคำสั่งของภาษา HTMLได้” - http://school.obec.go.th/pp_school/html/browser.html
“โปรแกรม คอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่ สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล (html) ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์ หรือระบบคลังข้อมูลอื่นๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่าย คอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ” - http://www.mindphp.com + http://th.wikipedia.org

Web browser คืออะไร ความหมายที่อาจทำให้หลายคนสับสน

จากนิยามของ Web browser ที่ได้ข้างต้น รวมทั้งที่ผมได้ให้ไว้เล่นๆ ด้วย จะเห็นได้ว่ามีความหมายที่คล้ายๆ กัน คือ
Web browser คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการท่องเว็บหรือใช้ดูข้อมูลที่อยู่ในหน้าเว็บเพจ

อย่างไรก็ตาม จากนิยามหรือความหมายของ Web browser ที่ผมเจอในเว็บต่างๆ ผมมองว่ามี 2 ประเด็นที่หลายๆ คนอาจจะยังสงสัยและอาจเป็นสาเหตุให้ตีความหรือเข้าใจว่า Web browser คืออะไร แตกต่างหรือคลาดเคลื่อนกันไป คือ
  • การใช้คำ “สำหรับเล่นอินเทอร์เน็ต” ที่อาจจะทำให้หลายๆ คนเข้าใจได้ว่า อินเทอร์เน็ต ก็คือ WWW (World Wide Web) ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้องเสียทีเดียว เพราะคำว่า WWW เป็นแค่ส่วนหนึ่งของ อินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็นคำที่มีความหมายกว้างขวางกว่า และยังรวมเอาการใช้งานหรือหรือบริการอื่นๆ นอกจาก WWW เอาไว้ด้วย เช่น อีเมล์ (e-mail) แชท (Chat) IRC และ FTP เป็นต้น
  • การ ใช้คำ “ภาษา HTML” ที่ผมว่ามันยากไปสำหรับผู้ใช้งานทั่วไป หรือบางคนที่รู้มากขึ้นมาหน่อย ก็อาจจะสงสัยอีกว่าแล้วภาษา Java, Javascript, Asp, Php, CFM หรืออื่นๆ ล่ะมันคืออะไร ซึ่งในที่นี้ ผมขออธิบายให้เข้าใจนิดหน่อยว่า HTML คือภาษาหลักที่ Web browser ใช้แสดงผลหรือแสดงข้อมูลในหน้าเว็บเพจ ส่วนภาษาอื่นๆ นั้นคือภาษาเสริม ที่ทำให้คนเขียนเว็บจัดการข้อมูลและการแสดงผลต่างๆ ได้ดีและสะดวกยิ่งขึ้น ซึ่งในการใช้ภาษาเสริมอื่นๆ นั้น ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมเพิ่มด้วย เพื่อทำหน้าที่ประมวลผลแล้วแปลผลที่ได้ให้เป็นภาษาหลัก (HTML) ส่งให้ Web browser นำไปแสดงในหน้าเว็บเพจต่อไป ดังนั้น ในการเขียนเว็บไม่ว่าจะใช้ภาษาเสริมอะไรก็ตาม จะต้องใช้ร่วมกับภาษาหลัก (HTML) เสมอ และข้อมูลที่เราเห็นในหน้าเว็บเพจของทุกเว็บไซต์ก็จะถูกแสดงผลด้วยภาษาหลัก หรือ HTML เสมอด้วยเช่นกัน

Web browser คืออะไร ความหมายโดยสรุปสั้นๆ

จาก นิยามของ Web browser ที่ผมได้ให้ตามความเข้าใจข้างต้น และจากการค้นหาและอ่านจากเว็บอื่นๆ ผมขอสรุปและให้นิยาม Web browser คืออะไร ดังนี้
Web browser คือซอฟต์แวร์หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ใช้ในการเข้าถึงข้อมูลเและติดต่อสื่อ สารกับระบบสารสนเทศที่อยู่ในรูปแบบของเว็บเพจ ซึ่งอยู่บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ชื่อว่า World Wide Web (WWW)

Web browser มีอะไรบ้าง

1.Firefox

คือ หลาย ๆ คนที่เล่นเน็ทเป็นเปิดเว็บไซท์เป็นคงจะรู้จักกับคำว่าเว็บบราวเซอร์ หรือโปรแกรมท่องเว็บ ส่วนใหญ่แล้วเราคงจะรู้จักกันแต่ Internet Explorer ของ Microsoft จอมผูกขาด คุณรู้หรือเปล่าว่า IE ที่คุณใช้อยู่นั้น ณ เวลาปัจจุบันมันไม่ปลอดภัยเอาเสียเลย เพราะว่าทางทีมงานเค้าไม่ได้พัฒนามานานแล้ว ฉะนั้นเรื่องความปลอดภัยไม่ต้องถามหา ซึ่ง Firefox นั้นเป็นอินเทอร์เน็ทบราวเซอร์ตัวใหม่ที่จะเข้ามาแข่งกับ IE < Internet Explorer> นำทีมสร้างโดย Mozilla โดยมีนักพัฒนาต่อยอดอยู่ทั่วทุกมุมโลก คุณสมบัติของ Firefox ที่เด่นกว่า IE คือ โปรแกรมมีขนาดเล็กกว่าทำให้การโหลดข้อมูล ทางหน้าเว็บเพจทำได้รวดเร็ว  ใช้งานได้สะดวก  แท็บด้านบนทำให้ทำให้เข้าได้หลายเว็บไซด์พร้อมๆกันโดยไม่ต้องเปิด window ใหม่ อีกทั้งยังมีการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องอินเทอร์เน็ต เช่น เมนูของGoogle  สำหรับการค้นหาข้อมูล

คุณสมบัติที่น่าสนใจของ Firefox
  • เป็นโปรแกรม Free Download ไม่ต้องตรวจสอบอะไร โหลดมาใช้ได้เลย 
  • ไฟล์ติดตั้งมีขนาดเล็ก ใช้เวลาในการดาวโหลดไม่นาน
  • ไม่แฮงค์บ่อย ปลอดภัยจาก spy ware ต่างๆ
  • แก้ไขข้อบกพร่องได้อย่างรวดเร็ว เพราะมีทีมงานพัฒนาอยู่ทั่วโลก มีการพัฒนาตลอดเวลา
  • สนับสนุนการใช้งานทั้ง Window MAX OS และ Linux ด้วย
  • มีลูกเล่นต่างๆ มากมาย ที่ผู้ใช้สามารถปรับเปลี่ยนหน้าตาและการใช้งานได้ตามความถนัดของผู้ใช้ ด้วย themes, extensions ต่างๆ มากมาย

2.Opera
Opera เป็นเบราว์เซอร์จากนอร์เวย์โดยมีประสิทธิภาพการทำงานที่ดีเยี่ยมและเชื่อถือได้ตั้งแต่สงครามเบราว์เซอร์ล่าสุดกับ Microsoft หลังจากที่แข่งขันได้ Opera ในช่วงอาชีพของส่วนใหญ่ของพื้นที่ฝัง, เช่นถนนโทรศัพท์มือถือขี่หมาป่าและกระตือรือร้น counter – พอใจเปิดตัวในระบบเดสก์ทอป
Opera ก่อตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการในปี 2006 และการจัดตั้ง บริษัท ย่อยของจีน R & D ทีมนี้เป็นไอทีและโทรคมนาคมในประเทศจีน CEO Interview กับ Opera และ Opera Song Lin, ผู้จัดการฝ่ายการตลาดของจีนวัง Lihao จำนวนน้อยยากที่จะจินตนาการ, ผูกขาด Microsoft ในเขตเบราว์เซอร์หลายปีกลุ่มของ infidels"ที่จากโลกล่าสุดได้รับการต่อไปนี้ช่วงกลาง 90s จากเบราเซอร์นอร์เวย์ Opera นี้กับความจริงที่ว่าทนเงียบไป Microsoft เจ้าโลกผูกขาด IE เหล่านี้ไม่ยอมให้เผชิญหน้ากับความมืดเงียบที่ไม่เป็นจริงออกจากจุดประกาย คนเหล่านี้เช่น"ผู้นำศาสนา Apple"นำโดย Steve Jobs of Apple และแฟน Apple ไม่ซ้ำกัน แต่ยังมีผลประโยชน์ ดังนั้นเบราเซอร์โอเปร่าที่มีชื่อเสียงที่รู้จัก
กัน Swiss Army Knife

3.Safari
จากข้อมูลของทาง Apple.com ก็ได้กล่าวถึงโปรแกรม Safari ว่าเป็นโปรแกรมท่องเว็บไซต์ที่เร็วที่สุด โดยเปรียบเทียบกับ Browser อื่น เช่น Firefox หรือ Internet Explorer แต่ก็เป็นข้อมูลจากทาง Apple.com ซึ่งก็ขอให้ผู้อ่านฟังหูไว้หู อย่าเชื่อข้อมูลของทาง Apple.com มากนัก และจากประสบการณ์ที่ผู้เขียนใช้งานมาทั้ง Safari Firefox และ Internet Explorer ในความรู้สึกส่วนตัวเห็นว่า Safari เองเร็วกว่า Internet Explorer อย่างเห็นได้ชัด แต่ต่างกับ Firefox เล็กน้อย โดยขั้นตอนการโหลดเว็บของ Safari จะกระตุกสักครู่แล้วมาหมดทีเดียวทั้งหน้าเลย ต่างจาก Firefox ที่จะมีกรอบเหลี่ยมๆ ก่อนแล้วแต่ละส่วนค่อยๆ โหลดมา ซึ่งก็เป็นเรื่องธรรมดาเพราะเทคนิคการเขียนโปรแกรมนั้นแตกต่างกัน
4.Crazy Browser
คือ"หน้ากาก"ครอบ IE ลงไปอีกทีหนึ่ง แล้วก็เพิ่มความสามารถต่างๆเข้ามา เพื่อให้การใช้เข้าดูเว็บต่างๆนั้น สะดวกและปลอดภัยมากขึ้น เรามาดูคุณสมบัติคร่าวๆดังนี้

1. ติดตั้งได้กับทุกวินโดวส์ ตั้งแต่ 95 จนถึง 2003 ข้อแม้อย่างเดียวคือ ต้องมี IE อยู่ก่อนเท่านั้น
2. บล็อคพวก Popup โฆษณาต่างๆได้ และยังสามารถเพิ่มรายชื่อได้เองอีกด้วย
3. ในขณะที่ IE นั้น การเปิดหน้าใหม่จากการคลิกลิ้งก์ต่างๆ จะแยกเปิดเป็นตัวๆ บางทีก็เกลื่อนจอ แต่ตัวนี้จะเปิดหน้าใหม่ในลักษณะ Tab เหมือนๆกับโปรแกรม Excel จึงเป็นระเบียบเรียบร้อยกว่า
4. สามารถตั้งค่าให้เปิดเป็นกลุ่มได้ เช่นคลิกครั้งเดียว เปิดหนังสือพิมพ์ 5 ฉบับเลย เป็นต้น
5. เวลาเลิกใช้งาน สามารถล้าง URL ที่เราเคยพิมพ์เข้าไปได้โดยอัตโนมัติ
6. สมมติว่าเปิดไว้ 20 เว็บพร้อมๆกัน สามารถยกถ้วยกาแฟพร้อมกับจับปาท่องโก๋ไว้อีกมือ ให้โปรแกรมเลื่อนไปให้ดูทีละเว็บๆแบบสไล้ด์โชว์
7. สำหรับคนชอบอะไรสั้นๆ สามารถพิมพ์เฉพาะชื่อเว็บ เช่น pantip แล้วกด Ctrl+Enter
8. มีช่อง Search ให้พิมพ์ค้นหาคำจากที่อื่นๆได้อีก 

5.Maxthon Browser
Maxthon เป็นเบราว์เซอร์ถูกดาวน์โหลด มากกว่า 463 ล้านครั้ง (ซึ่งสามารถดูได้จากหน้าเว็บของ Maxthon เลย) Maxthon (เดิมใช้ชื่อ MyIE2) เป็นเบราว์เชอร์ที่มีความแข็งเกร่ง มีพวกปลั๊กอินให้เราเลือกมากกว่า 1,400 ปลั๊กอินที่ทำให้เราสามารถใช้ Maxthon ได้อย่างสะดวกสบาย และยังมีสกินที่สวยๆให้เราเลือกปรับแต่งใช้งาน Maxthon ให้สวยหรูได้อีกด้วย
6. Google chrome 
Google Chrome คือ เว็บเบราว์เซอร์ใหม่สำหรับ Windows ที่ถูกพัฒนาขึ้นมาโดยทาง Google เอง และเป็นเบราว์เซอร์ที่รวมการออกแบบที่เรียบง่ายเข้ากับเทคโนโลยีที่ซับซ้อนเพื่อทำให้เว็บรวดเร็วขึ้น ปลอดภัยขึ้น และใช้งานง่ายขึ้น รายละเอียดบางส่วนของ Google Chrome ค้นหาจากแถบที่อยู่ พิมพ์ในแถบที่อยู่ และรับคำแนะนำสำหรับทั้งหน้าการค้นหาและหน้าเว็บ ภาพขนาดเล็กของเว็บไซต์โปรดของคุณ เข้าถึงหน้าเว็บโปรดของคุณได้ทันทีอย่างรวดเร็วจากแท็บใหม่ใดๆ ก็ตาม การเรียกดูส่วนตัว เปิดหน้าต่างที่ไม่ระบุตัวตนเมื่อคุณไม่ต้องการบันทึกไว้ในประวัติการเรียกดูของคุณ 
7. Internet Explorer 
 คือ โปรแกรม Internet Explorer เรียกย่อๆ ว่า IE เป็นโปรแกรมเบราเซอร์ที่ใช้ในการเปิดเว็บเพจในอินเทอร์เน็ต ซึ่งเป็น Application Software ที่ผลิตโดยบริษัท Microsoft ส่วนประกอบที่สำคัญของโปรแกรม
 
 ขอบคุณจาก https://www.blogger.com/blogger.g?blogID=430812472090039420#editor/target=post;postID=6337214488333696295


โปรแกรม Web Browser นั้นมีมากมายจากหลายค่ายหลายบริษัท แม้จะมีรูปแบบการใช้อาจจะแตกต่างกันไปบ้าง แต่มีจุดประสงค์เดียวกันคือ ไว้ใช้สำหรับท่องอินเทอร์เน็ต แสดงผลข้อมูลภายในเว็บเพจ สามารถจัดการไฟล์วิดีโอ เสียง รูปภาพ หรือแม้กระทั่งการเชื่อมโยงข้อมูลต่างๆ ก็สามารถกระทำได้ สำหรับโปรแกรม Web Browser ที่ได้รับความนิยมทั้งในอดีตและในปัจจุบันเช่น Internet Explorer Mozilla Firefox และ Google Chrome เราจะมาศึกษากัน
 
โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ต่างๆ ที่พัฒนาออกมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

1. Internet Explorer หรือเรียกสั้นๆ ว่า IE
       โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ Internet Explorer ของบริษัทยักษ์ใหญ่อย่างไมโครซอร์ฟ เป็นที่นิยมอย่างมากหลักจากได้มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Windows98 ซึ่งเวอร์ชั่นในขณะนั้นคือ เวอร์ชั่น 3 แต่เดิมทีนั้นในโลกของอินเทอร์เน็ต บริษัทที่ครองตลาดโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ก็คือ Netscape navigator ซึ่งได้รับความนิยมสูงในขณะนั้น แต่ด้วยความเป็นโปรแกรมที่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ผนวกกับทางไมโครซอต์ฟ ได้เปิดตัว Windows98 ซึ่งได้แถมInternet Explorer เวอร์ชั่น 3 มาด้วย ทำให้เป็นฟรีแวร์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้จึงหันมาใช้ IE กันมากขึ้นตามลำดับ และครองตลาดไปโดยปริยาย ปัจจุบันในพัฒนามาจนถึงเวอร์ชั่น 7 ในยุคของ WindowsXP และ เวอร์ชั่น 8 ในยุคของ Windows7 ระบบปฏิบัติใหม่ล่าสุด
        IE เป็นโปรแกรมประเภทฟรีแวร์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย ผู้ใช้ทั่วไปสามารถดาว์นโหลดโปรแกรมได้ทาง http://www.microsoft.com อีกประการหนึ่งโปรแกรมนี้จะแถมมากับระบบปฏิบัติการ Windows ทุกเวอร์ชั่น ซึ่งหากได้ติดตั้งแล้วก็สามารถใช้งานได้เลย
        คุณสมบัติของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์ Internet Explorer V.7
        - อ่านเอกสารแบบออฟไลน์ได้
        - โอนไฟล์ข้อมูลได้ด้วย FTP
        - ใช้แถบเครื่องมือในการลิงค์ได้
        - อับเดต Windows
        - ปลอดภัยจากการโจรกรรมด้วย ActiveX
        - ตั้งค่าความเร็วในการแสดงผลข้อมูล
        - ปรับแต่งหน้าเอกสารก่อนพิมพ์หน้าเว็บเพจ

        ถัดไปจะเป็นส่วนประกอบของหน้าจอใช้งานหลักและปุ่มที่สำคัญๆ 
        ส่วนประกอบของหน้าจอหลักของ Internet Explorer
 

                           1. แถบชื่อโปรแกรมหรือ Title bar แสดงชื่อเว็บเพจที่เรียกดู และชื่อโปรแกรม
                           2. แถบคำสั่ง หรือ Menu รวมรวมคำสั่งทั้งหมดของโปรแกรม ในรูปแบบคำสั่งย่อยในคำสั่งหลัก
                           3. แถบเครื่องมือมาตรฐานหรือ Tool bar  แสดงคำสั่งที่ใช้งานกันบ่อยๆ
                           4. แถบชื่อเอกสารหรือ Address bar ใช้พิมพ์ที่อยู่หรือตำแหน่งของเว็บเพจที่ต้องการ เช่น
                              
www.google.co.th เป็นต้น
                           5. ปุ่ม Go ใช้คลิกเพื่อไปยังเว็บไซต์ตามที่อยู่ในข้อ 4 หรือใช้กดปุ่ม เอ็นเตอร์ (Enter) ก็ได้
                           6. พื้นที่แสดงเว็บเพจ แสดงผลข้อมูลต่างภายในเว็บเพจ
                           7. แถบสถานะ แสดงสถานะของหน้าเว็บเพจ ณ ขณะนั้น
       ปุ่มทีสำคัญๆ ในการใช้งานของ Internet Explorer 

1. ปุ่ม Back หรือ ปุ่มย้อนกลับไปยังหน้าที่ผ่านมา

2. ปุ่ม Forward หรือ ปุ่มไปยังหน้าถัดไป

3. ปุ่ม Stop หรือ ปุ่มหยุดการแสดงผลข้อมูลภายในเว็บเพจ

4. ปุ่ม Refresh หรือ ปุ่มให้แสดงผลข้อมูลภายในเว็บเพจใหม่
ปัจจุบันบริษัท Microsoft ได้พัฒนา โปรแกรมเว็บบราวเซอร์ Internet Explorer มาจนถึงเวอร์ชั่น 8 แล้วซึ่งมาพร้อมกับระบบปฏิบัติการตัวใหม่ Windows 7 หรือ seven หากต้องการเรียนรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติเกี่ยวกับ Internet Explorer 8 

2. Mozilla Firefox หรือเรียกสั้นๆ ว่า Firefox
        ผู้คนส่วนใหญ่ที่เล่นอินเทอร์เน็ต เป็นเปิดเว็บไซต์เป็นประจำคงจะรู้จักกับคำว่าเว็บบราวเซอร์ หรือโปรแกรมท่องเว็บ ส่วนใหญ่แล้วเราคงจะรู้จักกันแต่เว็บบราวเซอร์ Internet Explorer ของ Microsoft แต่รู้หรือไม่ว่า IE ที่ใช้อยู่นั้น ปัจจุบันมันยังไม่ปลอดภัย เพราะว่าทางทีมงานไม่ได้พัฒนามานานแล้ว ฉะนั้นจึงเสี่ยงเรื่องของความปลอดภัย ซึ่ง Firefox นั้นเป็นอินเทอร์เน็ตบราวเซอร์ตัวใหม่ที่จะเข้ามาแข่งกับ IE Internet Explorer นำทีมการสร้างโดย Mozilla โดยมีนักพัฒนาต่อยอดอยู่ทั่วทุกมุมโลก คุณสมบัติของ Firefox ที่เด่นกว่า IE คือ โปรแกรมมีขนาดเล็กกว่าทำให้การโหลดข้อมูล ทางหน้าเว็บเพจทำได้รวดเร็ว  ใช้งานได้สะดวก แท็บด้านบนทำให้ทำให้เข้าได้หลายเว็บไซด์พร้อมๆกันโดยไม่ ต้องเปิด window ใหม่ อีกทั้งยังมีการอำนวยความสะดวกแก่นักท่องอินเทอร์เน็ต เช่น เมนูของGoogle  สำหรับการค้นหาข้อมูล
        Firefox เป็น Browser ที่มีกระแสการตอบรับอย่างรวดเร็วเมื่อต้นปี 2006 ซึ่งขณะนี้มีผู้ใช้ Browser ตัวนี้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน มียอดการ download ไปใช้งานเกือบ 300 ล้านครั้งแล้ว นั่นแสดงให้เห็นว่า Firefox ต้องมีอะไรสักอย่างที่ดึงดูดนักท่องเว็บเหล่านั้น จุดเด่นที่สำคัญของ Mozilla Firefox ที่น่ากล่าวถึงเป็นอย่างแรกคือ ความเป็นโปรแกรม open source แจกฟรีให้กับผู้ใช้ทั่วไปที่พัฒนาโดยองค์การที่ไม่หวังผลกำไรและคน ทั่วไปนั่นเอง
        คุณสมบัติที่น่าสนใจของ Firefox

        1.ความรวดเร็ว
        Firefox จะทำให้คุณสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ต่างๆ ได้รวดเร็วกว่า ด้วยการทำงานของโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ และยังสามารถปรับแต่งเพื่อเร่งการทำงานให้เร็วได้สูงสุด
        2.ความปลอดภัย
        หากโดนบุกรุกจากเหล่าสปายแวร์ โทรจัน ไวรัส จากโลกไซเบอร์บ่อยๆ รับรองว่าถ้าหากได้ใช้ Firefox ปัญหาต่างๆที่เคยประสบจะลดลงอย่างแน่นอน ด้วยระบบการรักษาความปลอดภัยที่เหนียวแน่นและระบบการอัพเดตของ Firefox จะช่วยอุดช่องโหว่ใหม่ๆได้อย่างทันท่วงที
        3.ฟรีแวร์ 100%
        แน่นอนที่สุด คือโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมฟรี แถมยังเป็นโปรแกรมเปิด หรือ OpenSource เพื่อให้เหล่านักพัฒนาซอฟต์แวร์ หรือผู้ใช้ที่พบเห็นข้อบกพร่องในการใช้งาน ได้ส่งข้อบกพร่องหรือทางแก้ไขนั้นๆ ทำให้ Firefox มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และกระแสตอบรับดีเสมอมา หลายหลายคุณสมบัติในการท่องเว็บไซต์หากคุณนักท่องโลกไซเบอร์ ถ้าได้ลองสัมผัสคุณสมบัติต่างๆของ Firefox 


      

รูปร่างหน้าตาของ Mozilla Firefox หน้าเริ่มต้น
 

ปกติ Mozilla Firefox จะมีปลั๊กอินสำหรับช่วยในค้นหาของ Google ให้สะดวกยิ่งขึ้น
         สรุปจุดเด่นของ Mozilla Firefox
         1. เป็นโปรแกรม Open source จุดเด่นของ open source คือ จริงใจ ไม่ปิดบัง โดยทุกคนเห็นข้อมูลทุกอย่าง และส่งเสริมการพัฒนาต่อโดยประชาคม Open source หมายความว่า ทุกคนรู้ทุกอย่างในโปรแกรมที่เป็น open source ได้ ผู้คนเหล่านี้ รวมทั้ง ผู้ชำนาญด้านความปลอดภัย และนักพัฒนาโปรแกรม ที่กระจายอยู่ทั่วโลก Firefox มีความเป็น open source มาโดยตลอด ทำให้ใครก็ตามทั่วโลก ที่มีความรู้ด้านภาษาคอมพิวเตอร์นี้ สามารถมองทุกอย่างที่อยากรู้ได้ในโปรแกรม มองออกได้ว่ามีจุดบกพร่องใด พร้อมที่สามารถแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องทราบได้ถึงปัญหา และสิ่งอื่นใด อีกทั้งสามารถพัฒนาสร้างโปรแกรมเสริมต่อการใช้งานของ Firefox ได้ ซึ่งเรียกว่า add-ons กรณีมีการโจมตีจาก virus,worm,malware,spyware หรือที่ไม่ดีอื่นใด ผู้รู้จัก open source โดยเฉพาะผู้หลงไหลใน open source จำนวนมากทั่วโลก สามารถแก้ไขขึ้นได้ด้วยตัวเอง หรืออย่างน้อยก็บอกต่อกัน ทำให้ Firefox ปรับตัวได้เร็วมาก จึงมี safety ที่ดี แม้เพียงมีความผิดปกติขึ้นเพียงเล็กน้อย ก็อาจตรวจพบได้แล้ว การเป็น open source จึงอาจถูกมองได้ว่าเป็นปัญหา เพราะผู้ไม่หวังดี รู้ข้อมูลทั้งหมดในการสร้างโปรแกรมไม่ดีมารบกวน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ไม่เป็นเช่นนั้น. ดังเห็นได้ว่า พลังของชาว Firefox แข็งแกร่งกว่า และพร้อมกว่า และที่สำคัญคือ ผู้มีความรู้มักสร้างประโยชน์ขึ้นกับตนเอง และกลุ่มมากกว่า ไปสร้างความเสียหาย และกลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนที่คอยดูแล ปกป้อง Firefox
         2. ความปลอดภัยหรือ Security บนโลกของอินเทอร์เน็ต ยังไม่มีความปลอดภัย 100% เพราะเหตุการณ์ และปัจจัยเปลี่ยนแปลง และเกิดขึ้นใหม่ตลอดเวลา อย่างไรก็ตาม Firefox ให้ความปลอดภัยกว่าจากปัจจัยลบ เช่น spyware,hackers,scammers และspammers Phishing protection จาก Firefox ให้ความปกป้องทางการเงินและความเป็นส่วนตัว

         ถัดไปจะเป็นโปรแกรมวิธีการ ใช้โปรแกรมเสริมหรือ Extension ซึ่งเป็นช่วยอำนวยความสะดวกให้กับเว็บบราวเซอร์อย่าง Mozilla Firefox พร้อมทั่งลูกเล่นต่างๆ อีกมากมาย

 


3. Google Chrome เว็บบราวเซอร์ตัวใหม่ล่าสุด
          Google Chrome คือเว็บเบราว์เซอร์ที่พัฒนาโดยบริษัทเสิร์ชเอนจิ้นยักษ์ใหญ่ของโลกอย่างกู เกิล (Google) คู่แข่งสำคัญของบริษัท Microsoft ซึ่งเป็นเว็บบราวเซอร์ที่มีความเร็ว มีธีมและหน้าตาที่สวยงามน่า ใช้ ซึ่งปัจจุบันนี้ได้พัฒนามาจนถึงเวอชั่น 4 แล้ว ด้วยการใช้งานที่ง่าย เป็นฟรีแวร์ และสามารถติดตั้งได้อย่างรวดเร็วภายในเวลาไม่กี่วินาที เปิดตัวพร้อมกับระบบปฏิบัติการ Google Chrome OS แบบเดียวกับ Microsoft ซึ่งบราวเซอร์ตัวนี้มีคุณสมบัติที่น่าสนใจมากมาย
           คุณลักษณะต่างๆ ของ Google Chrome
         - ช่องแท็บสำหรับใส่ที่อยู่หรือ Address สามารถใช้เป็นช่องค้นหาได้
         - สามารถตั้งเลือกค่าให้บุ๊คมาร์คในแต่ละเครื่องปรับตรงกันได้โดยอัตโนมัติ
         - สามารถลากแท็บออกจากเบราว์เซอร์เพื่อสร้างหน้าต่างใหม่และรวมหลายๆ แท็บไว้ในหน้าต่างเดียว
         - แท็บทุกแท็บที่กำลังใช้ ทำงานอย่างอิสระในเบราว์เซอร์
         - มีโหมดไม่ระบุตัวตนสำหรับการเข้าชมแบบส่วนตัว
         - มีส่วนขยายให้เลือกติดตั้งเพิ่มลงไปตามต้องการ

โดยสามารถติดตั้ง Google Chrome ซึ่งเป็นฟรีแวร์ได้ที่ http://www.google.com/chrome 

Google Chrome เว็บบราวเซอร์ที่มีการทำงานที่รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
           คุณลักษณะใหม่ล่าสุด
          ส่วนขยายของ Google Chrome คือ โปรแกรมขนาดเล็กที่ช่วย เพิ่มคุณลักษณะต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ให้กับบราวเซอร์ของคุณ ส่วนขยายมีทั้งการแจ้งข่าวและการแจ้งเตือนที่เป็นประโยชน์ พร้อมกันนี้คุณยัง สามารถเข้าถึงเว็บแอปพลิเคชันโปรดหรือแหล่งข่าวสาร และปรับปรุงการทำงาน ออนไลน์ เช่น การเรียกดูภาพถ่าย การรับเส้นทาง หรือช็อปปิ้งได้อย่างง่ายดายยิ่ง ขึ้นอีกด้วย
          การแปลในเบราว์เซอร์ Chrome เป็นเบราว์เซอร์แรกที่รวมเอาการแปลจากคอมพิวเตอร์เข้าไว้ใน เบราว์เซอร์โดยไม่ต้องมีปลั๊กอินหรือส่วนขยายเพิ่มเติม เมื่อภาษาบนหน้าเว็บไม่ตรงกับการตั้งค่าภาษาที่กำหนดไว้ในเบราว์เซอร์ Chrome จะถามโดยอัตโนมัติว่าต้องการให้แปลหน้าเว็บเป็นภาษาที่คุณตั้งค่าไว้หรือไม่
          และคุณลักษณะที่ได้รับความนิยมมาก ที่สุดจากคือ Chrome ธีม ซึ่งสามารถตกแต่งบราวเซอร์ของคุณด้วยธีมจากศิลปินทั่วโลก หน้าแท็บใหม่ ไปที่เว็บไซต์โปรดของคุณได้ง่ายๆ จากหน้าแท็บใหม่ เมื่อคุณเปิด แท็บใหม่ ไซต์ที่คุณเข้าชมบ่อยที่สุดจะพร้อมให้คุณใช้งานทันที แถบอเนกประสงค์ ใช้แถบอเนกประสงค์เพื่อพิมพ์ทั้งที่อยู่เว็บและข้อความค้นหา
*สรุปบทที่ 2 
           โปรแกรม เว็บบราวเซอร์ คือโปรแกรมที่ใช้ในการเปิดดูข้อมูลต่างๆ ซึ่งเป็นข้อมูลภายในเว็บเพจ เขียนด้วยภาษา HTML ทำหน้าที่ในการแสดงผลของ ข้อมูลเอกสาร เว็บบราวเซอร์สามารถอ่านข้อมูลที่เป็นภาพ 2 มิติและ 3 มิติ ภาพเคลื่อนไหว เสียง การเชื่อมโยงข้อมูล และสามารถจัดเก็บในรูปแบบต่างๆ ได้ โปรแกรม เว็บบราวเซอร์ที่มีตั้งแต่ในอดีตจนถึงในปัจจุบันอันได้แก่ Internet Explorer,MozillaFirefox,Opera,Netscape navigator และ Google chrome  ส่วนประกอบของโปรแกรมเว็บบราวเซอร์โดยทั่วไป หลักๆ อันได้แก่
1. Title bar(แถบชื่อ) แสดงชื่อเว็บที่เรากำลังใช้อยู่
2. Menu Bar(แถบเมนู) ทำหน้าที่แสดงเมนูคำสั่งต่างๆ ซึ่งแบ่งกลุ่มของคำสั่ง โดยประกอบไปด้วย เมนูFile,เมนูEdit,เมนูView และเมนูFavorites 
3.เมนูTools และเมนูHelp โดยคำสั่งเหล่านี้จะมีการแสดงคำสั่งย่อยๆ
4.Tool Bar(แถบเครื่องมือ) ทำหน้าที่แสดงปุ่มคำสั่งต่างๆที่มีการใช้งานบ่อยๆ โดยแสดงปุ่มรูปภาพซึ่งสื่อถึงการใช้งาน เมนูคำสั่ง เมนู View และ เมนู Favorites
5.Address Bar(แถบที่อยู่) ทำหน้าที่ในการเชื่อมโยงไปยังเว็บไซต์ต่างๆ
6. พื้นที่ในการแสดงข้อมูลบนเว็บเพจ โดยพื้นที่ดังกล่าวจะแสดงข้อมูลต่างๆ ที่ปรากฏในเว็บเพจต่างๆ ซึ่งพื้นที่ในการแสดงข้อมูลบนเว็บเพจนี้ จะประกอบไปด้วยข้อมูลที่เป็นตัวอักษร รูปภาพ และการเชื่อมโยงข้อมูล
7. Status Bar(แถบสถานะ) ทำหน้าที่ในการแสดงข้อมูลเกี่ยวกับการเชื่อมโยงในเว็บเพจ ซึ่งจะแสดงชื่อของเว็บเพจที่ทำการเชื่อมโยง

          หากต้องการรู้จักเรื่องเว็บบราวเซอร์ Google Chrome


ขอบคุณจาก http://www.thaigoodview.com/node/92861 



 

วันพฤหัสบดีที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

บริการต่าง ๆ ของอินเตอร์เน็ต

บริการต่าง ๆ ของอินเตอร์เน็ต
1. World Wide Web (WWW) (เวิลด์ไวด์เว็บ )
2. Electronic Mail (E-Mail) (จดหมายอิเล็กทรอนิกส์)
3. Search Engine  (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต)
4. Instant Message (บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต )
5. Telnet (ควบคุมระยะไกล)
6. FTP (File Transfer Protocol)  (บริการโอนย้ายไฟล์ )
7. Web board (บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด )
1. World Wide Web (WWW) เครือข่ายใยแมงมุม
          เป็นการเข้าสู่ระบบข้อมูลอย่างข้อมูลในรูปของ Interactive Multimedia คือ มีทั้งรูปภาพ ข้อความ ภาพเคลื่อนไหว เสียง และวีดีโอ อีกทั้งข้อมูลเหล่านี้ยังใช้ระบบที่เรียกว่า hypertext กล่าวคือ จะมีคำสำคัญหรือรูปภาพในข้อมูลนั้นที่จะช่วยให้ท่าน เข้าสู่รายละเอียดที่ลึกและกว้างขวางยิ่งขึ้น คำสำคัญดังกล่าวจะเป็นคำที่เป็นตัวหนา หรือขีดเส้นใต้ เพียง แต่ท่านเลือกกด ที่คำ ที่เป็นตัวหนาหรือขีดเส้นใต้ นั้น ๆ ท่านก็สามารถเข้าสู่ข้อมูลเพิ่มเติมได้ (ข้อมูลเหล่านี้จะมีผู้สร้างขึ้นมาและเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ ต่าง ๆ ทั่วโลก)
                       

2. ไปรษณีย์อิเลคทรอนิคส์ (Electronic Mail หรือ E-Mail)
    เป็นบริการหนึ่งบนอินเทอร์เนตที่คนนิยมใช้กันมากคือส่งจดหมายโดยทางคอมพิวเตอร์ถึงผู้ที่มีบัญชีอินเตอร์เน็ต ด้วยกันไม่ว่าจะอยู่ใกล้หรือไกลคนละซีกโลกจดหมายก็จะไปถึงอย่างสะดวกรวดเร็วและง่ายดายโปรแกรมที่ใช้ ได้แก่
Hotmail  , YahooMail , ThaiMail และยังมี Mail ต่าง ๆ ที่ให้บริการอย่างมากมายในปัจจุบัน ตามหน่วยงานหรือ
องค์กรต่าง ๆ
                                      
3. Search Engine  (บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต)
          Search Engine เป็นเว็บไซต์ที่มีเครื่องมือในการที่จะค้นหาเว็บไซต์ต่าง ๆ มาเก็บไว้ในฐานข้อมูลของ     ตัวเองโดยอัตโนมัติ เช่น Google.com หรือ Altavista.com ซึ่งเครื่องมือนี้ มีชื่อเรียกว่า Search Robot     จะทำหน้าที่คอยวิ่งเข้าไปอ่านข้อความจากหน้าเว็บไซต์ ของเว็บต่าง ๆ แล้วนำมาจัดลำดับคำค้นหา (Index)     ที่มีในเว็บไซต์เหล่านั้น เก็บไว้ในฐานข้อมูลของตนเอง เมื่อเราเข้าไปใช้บริการ
กับ Search Engine
                                     
4. Instant Message (บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต )
           Instant Messaging ก็คือการสนทนาทางโทรศัพท์อย่างหนึ่งแต่เป็นในรูปของตัวอักษร     พนักงานในบริษัททั้งขนาดเล็กและใหญ่ต่างใช้ IM เป็นเครื่องมือในการสื่อสาร สำหรับคนอีกจำนวนมาก  IM  คือการสื่อสารสำรองเมื่ออีเมล์มีปัญหาหรือเหตุฉุกเฉินอื่นๆ
  
5.Telnet 
        เป็นบริการที่ช่วยให้เราสามารถเข้าสู่ระบบคอมพิวเตอร์อื่นเสมือนหนึ่งไปนั่งใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ของที่นั่น โปรแกรมที่ช่วยให้ท่านใช้บริการนี้ได้คือ โปรแกรม NCSA Telnet เมื่อเปิดโปรแกรมแล้วให้พิมพ์คำสั่ง Telnet ดังในรูปภาพข้างล่างเมื่อท่านใช้คำสั่ง Telnet แล้วให้พิมพ์ที่อยู๋ของแหล่งข้อมูลนั้น ท่านก็จะสามารถเข้าสู่ระบบข้อมูลนั้น ๆ ได้เสมือนท่านไปนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์ของเครื่อง ๆ นั้นเลยทีเดียว ระบบ Telnet

6. FTP (File Transfer Protocol) 
         คือ บริการที่ใช้ในการโอนย้าย file หรือข้อมูลจากคอมพิวเตอร์หนึ่งไปยังอีกคอมพิวเตอร์หนึ่ง สามารถโอนย้ายข้อมูล เช่น
รูปภาพ , ข้อความ , บทความ , คู่มือ และโปรแกรมต่าง ๆ

7. Web board (บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด )
           WebBoard คือโปรแกรมที่ทำหน้าที่ในลักษณะเป็น กระดานสนทนา เป็นกระดานแจ้งข่าวสาร ข้อมูล     และแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน 
  

ขอบคุณ
http://www.mcp.ac.th/online/internet/1_2.html

ความเป็นมาอินเตอร์เน็ตในไทย

 ความเป็นมาอินเตอร์เน็ตในไทย

ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ (Prince of Songkla University) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที (AIT) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย (โครงการ IDP) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC (Thailand) จำกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่คำ “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน (Domain) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคำว่า Thailand
กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี (UUNET Technologies) ประเทศสหรัฐอเมริกา

ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่านจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” (THAInet) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ (Gateway) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย (ปัจจุบันเครือข่ายไทยเน็ตประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 4 แห่งเท่านั้น ส่วนใหญ่ย้ายการเชื่อมโยงอินเทอร์เน็ตโดยผ่านเนคเทค (NECTEC) หรือศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ)


ปี พ.ศ.  2535 เช่นกัน เป็นปีเริ่มต้นของการจัดตั้งกลุ่มจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เพื่อการศึกษาและวิจัยโดยมีชื่อว่า "เอ็นดับเบิลยูจี" (NWG : NECTEC E-mail Working Group) โดยการดูแลของเนคเทค และได้จัดตั้งเครือข่ายชื่อว่า "ไทยสาร" (ThaiSarn : Thai Social/Scientific Academic and Research Network) เพื่อการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างกัน โดยเริ่มแรกประกอบด้วยสถาบันการศึกษา 8 แห่ง ปัจจุบันเครือข่ายไทยสารเชื่อมโยงกับสถาบันต่างๆ กว่า 30 แห่ง ทั้งสถาบันการศึกษาและหน่วยงานของรัฐ


ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป


ขอบคุณ
 http://tc.mengrai.ac.th/paisan/e-learning/internet/page23.htm
 

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประวัติการเริ่มต้นใช้ของอินเตอร์เน็ต

อินเทอร์เน็ต ประวัติอินเทอร์เน็ต ประโยชน์และการใช้งานอินเทอร์เน็ต

       อินเทอร์เน็ต คือ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่สุดของโลก โดยจะเป็นการเชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องจากทั่วโลกมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกัน ซึ่งช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันได้ทั่วโลก ในการติดต่อกันระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ จำเป็นต้องมีการระบุว่า ส่งมาจากไหน ส่งไปให้ใครซึ่งต้องมีการระบุ ชื่อเครื่อง (คล้ายกับเลขที่บ้าน) ในอินเทอร์เน็ตใช้ข้อตกลงในการติดต่อที่เรียกว่า TCP/IP (ข้อตกลงที่ทำให้คอมพิวเตอร์ติดต่อกันได้) ซึ่งจะใช้สิ่งที่เรียกค่า “ไอพี-แอดเดรส” (IP-Address) ในการระบุชื่อเครื่องจะไม่มีเบอร์ที่ซํ้ากันได้
อินเทอร์เน็ต
อินเทอร์เน็ต ระบบการเชื่อมต่อของอินเทอร์เน็ต


ประวัติของอินเทอร์เน็ต


         อินเทอร์เน็ตกำเนิดขึ้นครั้งแรกในประเทศสหรัฐ อเมริกา เมื่อ พ.ศ. 2512 โดยองค์กรทางทหาร ของสหรัฐอเมริกา ชื่อว่า ยู.เอส.ดีเฟนซ์ ดีพาร์ทเมนท์ ( U.S. Defence Department ) เป็นผู้คิดค้นระบบขึ้นมา มีวัตถุประสงค์ คือ เพื่อให้มีระบบเครือข่ายที่ไม่มีวันตายแม้จะมีสงคราม ระบบการสื่อสารถูกทำลาย หรือตัดขาด แต่ระบบเครือข่ายแบบนี้ยังทงาน ได้ซึ่งระบบดังกล่าวจะใช้วิธีการส่งข้อมูลในรูปของคลื่นไมโครเวฟ ฝ่ายวิจัยขององค์กรจึงได้จัดตั้งระบบเน็ตเวริ์กขึ้นมา เรียกว่า ARPAnet ย่อมาจากคำว่า Advance Research Project Agency net ซึ่งประสบความสเร็จและได้รับความนิยมในหมู่ของหน่วยงานทหาร องค์กร รัฐบาล และสถาบันการศึกษาต่างๆ เป็นอย่างมาก

           การเชื่อมต่อในภาพแรกแบบเดิม ถ้าระบบเครือข่ายถูกตัดขาด ระบบก็จะเสียหายและทให้การเชื่อมต่อขาดออกจากกัน แต่ในเครือข่ายแบบใหม่ แม้ว่าระบบเครือข่ายหนึ่งถูกตัดขาด เครือข่ายก็ยังดเนินไปได้ไม่เสียหาย เพราะโดยตัวระบบก็หาช่องทางอื่นเชื่อมโยงกันจนได้ในระยะแรก เมื่อ ARPAnet ประสบความสเร็จ ก็มีองค์กรมหาวิทยาลัยต่างๆ ให้ความสนใจเข้ามาร่วมในโครงข่ายมากขึ้น โดยเน้นการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ( Electronic Mail ) ระหว่างกันเป็นหลัก ต่อมาก็ได้ขยายการบริการไปถึงการส่งแฟ้มข้อมูลข่าวสารและส่งข่าวสารความรู้ทั่วไป แต่ไม่ได้ใช้ในเชิงพาณิชย์ เน้นการให้บริการด้านวิชาการเป็นหลัก
       ปี พ.ศ. 2523 คนทั่วไปเริ่มสนใจอินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีการนอินเทอร์เน็ตมาใช้ในเชิงพาณิชย์ มีการท าธุรกิจบนอินเทอร์เน็ต บริษัท ห้างร้านต่างๆ ก็เข้าร่วมเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากขึ้น


อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย



       ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตในปี พ.ศ. 2530 ในลักษณะการใช้บริการ จดหมายเล็กทรอนิกส์แบบแลกเปลี่ยนถุงเมล์เป็นครั้งแรก โดยเริ่มที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ( Prince of Songkla University ) และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชียหรือสถาบันเอไอที ( AIT ) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่างประเทศไทยและออสเตรเลีย ( โครงการ IDP ) ซึ่งเป็นการติดต่อเชื่อมโยงโดยสายโทรศัพท์ จนกระทั่งปี พ.ศ. 2531 มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ได้ยื่นขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ต Sritrang.psu.th ซึ่งนับเป็นที่อยู่อินเทอร์เน็ตแห่งแรกของประเทศไทย ต่อมาปี พ.ศ. 2534 บริษัท DEC ( Thailand ) จกัดได้ขอที่อยู่อินเทอร์เน็ตเพื่อใช้ประโยชน์ภายในของบริษัท โดยได้รับที่อยู่อินเทอร์เน็ตเป็น dect.co.th โดยที่ค “th” เป็นส่วนที่เรียกว่า โดเมน ( Domain ) ซึ่งเป็นส่วนที่แสดงโซนของเครือข่ายอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย โดยย่อมาจากคว่า Thailand

อินเทอร์เน็ต internet
การใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง
ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535

        กล่าวได้ว่าการใช้งานอินเทอร์เน็ตชนิดเต็มรูปแบบตลอด 24 ชั่วโมง ในประเทศไทยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือน กรกฎาคม ปี พ.ศ. 2535 โดยสถาบันวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตที่บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ( UUNET Technologies ) ประเทศสหรัฐอเมริกา

          ในปีเดียวกัน ได้มีหน่วยงานที่เชื่อมต่อแบบออนไลน์กับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตผ่าน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย หลายแห่งด้วยกัน ได้แก่ สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ( AIT ) มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า วิทยาเขตเจ้าคุณทหารลาดกระบัง มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และมหาวิทยาลัยอัสสัมชัญบริหารธุรกิจ โดยเรียกเครือข่ายนี้ว่าเครือข่าย “ไทยเน็ต” ( THAInet ) ซึ่งนับเป็นเครือข่ายที่มี “ เกตเวย์ “ ( Gateway ) หรือประตูสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตเป็นแห่งแรกของประเทศไทย

       ปัจจุบันได้มีผู้รู้จักและใช้อินเทอร์เน็ตมากขึ้น มีอัตราการเติบโตมากกว่า 100 % สมาชิกของอินเทอร์เน็ตขยายจากอาจารย์และนิสิตนักศึกษาในระดับอุดมศึกษาไปสู่ประชาชนทั่วไป


          ในยุคแห่งสังคมข่าวสารเช่นปัจจุบัน การสื่อสารผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์ยิ่งทวีความสคัญมาก ขึ้นเป็นลดับ เครือข่าคอมพิวเตอร์ให้แลกเปลี่ยนข่าวสารระหว่างกันได้โดยง่าย ในปัจจุบันมี เครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมโยงไปทั่วโลก ผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่งสามารถติดต่อกับผู้ใช้ในซีกโลกหนึ่ง ได้อย่างรวดเร็วเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่รู้จักกันในชื่อของ "อินเทอร์เน็ต" (Internet) จัดว่าเป็น เครือข่ายที่มีบทบาทสคัญ ที่สุดในยุคของสังคมข่าวสารปัจจุบัน อินเทอร์เน็ตมีขอบข่ายครอบคลุมพื้นที่แทบทุกมุมโลกสมาชิกในอินเทอร์เน็ต สามารถใช้คอมพิวเตอร์ที่ตั้งอยู่ที่จุดใด ๆ เพื่อส่งข่าวสารและข้อมูลระหว่างกันได้บริการข้อมูลในอินเทอร์เน็ตมีหลากรูป แบบและมีผู้นิยมใช้เพิ่มมากขึ้นทุกวัน จากการคาดการณ์โดยประมาณแล้ว


         ปัจจุบันมีเครือข่ายทั่วโลกที่เชื่อมเข้าเป็น อินเทอร์เน็ตราว 45,000 เครือข่าย จนวนคอมพิวเตอร์ในทุกเครือข่ายรวมกันคาดว่ามีประมาณ 4 ล้านเครื่อง หรือหากประมาณจนวนผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทั่วโลกคาดว่ามีประมาณ 25 ล้านคน และ มีแนวโน้มเพิ่มมากขึ้น เราจึงกล่าวได้ว่า อินเทอร์เน็ตเป็นเครือข่ายมหึมาที่ครอบคลุมพื้นที่กว้างขวาง ที่สุด มีการขยายตัวสูงที่สุด และมีสมาชิกมากที่สุดเมื่อเทียบกับเครือข่ายอื่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบัน พัฒนาการของอินเทอร์เน็ต อินเทอร์เน็ตมิได้เป็นเครือข่าย ที่เกิดขึ้นโดยเฉพาะเจาะจงหากแต่มี ประวัติความเป็นมาและมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่การเกิดของเครือ ข่ายอาร์พาเน็ต ในปี พ.ศ.2512 ก่อนที่จะก่อตัวเป็น อินเทอร์เน็ตจน กระทั่งถึงทุกวันนี้อินเทอร์เน็ตมีพัฒนาการมา จากอาร์พาเน็ต ( ARPAnet ) ซึ่งเป็นเครือข่ายคอมพิวเตอร์ภายใต้ การรับผิดชอบของ อาร์พา ( Advanced Research Projects Agency ) ในสังกัดกระทรวงกลาโหของ สหรัฐอเมริกาอาร์พาเน็ต ในขั้นต้นเป็นเพียงเครือข่ายทดลองที่ตั้งขึ้นเพื่อเป็นการสนับสนุนงานวิจัย ด้านการทหารและโดยเนื้อแท้แล้วอาร์พาเน็ตเป็นผลพวงมาจากการเมืองโลกในยุค สงครามเย็นระหว่างค่าย คอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย ยุคสงครามเย็น ในทศวรรษของปีพ.ศ.2510 นับเป็นเวลาแห่งความตึงเครียดเนื่องจากภาวะ สงครามเย็นระหว่างประเทศในค่ายคอมมิวนิสต์และค่ายเสรีประชาธิปไตย สหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นประเทศผู้นกลุ่ม เสรีประชาธิปไตยได้ก่อตั้งห้องปฏิบัติการทดลองเพื่อค้นคว้าและพัฒนา เทคโนโลยีอย่างเร่งด่วน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคโนโลยีด้านระบบคอมพิวเตอร์ช่วงท้ายของทศวรรษ 2510 ห้องปฏิบัติการวิจัย ในสหรัฐ ฯ และในมหาวิทยาลัยใหญ่ ๆล้วนแล้วแต่มีคอมพิวเตอร์ที่ทันสมัยในยุคนั้นติดตั้งอยู่


        การเชื่อมต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตของประเทศไทยมีจุดกเนิด มาจากเครือข่ายคอมพิวเตอร์ระหว่างมหาวิทยาลัย หรือที่เรียกว่า "แคมปัสเน็ตเวอร์ก" ( Campus Network ) เครือข่ายดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจาก "ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ" ( NECTEC ) จนกระทั่งได้ เชื่อมเข้าสู่อินเทอร์เน็ตโดยสมบูรณ์ในเดือนสิงหาคม ปี พ.ศ. 2535 พัฒนาการ ประเทศไทยได้เริ่มติดต่อกับอินเทอร์เน็ตโดยใช้ E-mail ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2530 โดยเริ่มที่ "มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่" เป็นแห่งแรก และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและออสเตรเลียในช่วงเวลาต่อมา ในขณะนั้นยังไม่ได้มีการเชื่อมต่อ แบบ On-line หากแต่เป็นการแลกเปลี่ยนข่าวสาร ด้วย E-mail โดยใช้ระบบ MSHnet ละ UUCP โดยทางออสเตรเลียจะโทรศัพท์เชื่อมเข้ามาสู่ระบบวันละ 2 ครั้ง


การทำงานของอินเทอร์เน็ต


         การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล (Protocol) ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของการเชื่อมต่อกหนดไว้ โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต คือ TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol) เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลขประจเครื่อง ที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocol ตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น 4 ส่วน ส่วนละ 8 บิตเท่าๆ กัน เวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่ายแล้วเขียนโดยคั่นแต่ละ ส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือ ตั้งแต่ 0 จนถึง 255 เท่านั้น เช่น IP address ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิต คือ 203.183.233.6 ซึ่ง IP Address ชุดนี้จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องพิวเตอร์อื่นๆ ในเครือข่าย
อินเทอร์เน็ต ภาพการทำงานของ DNS Domain name system :DNS

โดเมนเนม (Domain name system :DNS)

        เนื่องจากการติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเทอร์เน็ตใช้ โปรโตคอล TCP/IP เพื่อสื่อสารกัน โดยจะต้องมี IP address ในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆ แล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจ ถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจนวนมากขึ้น การจดจหมายเลข IP ดูจะเป็นเรื่องยาก และอาจสับสนจผิดได้ แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจตัวเลข

         โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ .com ย่อมาจาก commercial สหรับธุรกิจ .edu ย่อมาจาก education สหรับการศึกษา .int ย่อมาจาก International Organization สหรับองค์กรนานาชาติ .org ย่อมาจาก Organization สหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหาก าไร .org ย่อมาจาก Organization สหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากไร


บริการต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต


       1. เวิลด์ไวด์เว็บ (WWW) เวิลด์ไวด์เว็บ หรือเครือข่ายใยแมงมุม เหตุที่เรียกชื่อนี้เพราะว่าเป็นลักษณะของการเชื่อมโยงข้อมูล จากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ เวิลด์ไวด์เว็บ เป็นบริการที่ได้รับความนิยมมากที่สุด ในการเรียกดูเว็บไซต์ต้องอาศัยโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์ (web browser) ในการดูข้อมูล เว็บเบราว์เซอร์ที่ได้รับความนิยมใช้ในปัจจุบัน เช่น โปรแกรม Internet Explorer (IE) , Netscape Navigator
       2. จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Mail) การติดต่อสื่อสารโดยใช้อีเมลสามารถท าได้โดยสะดวก และประหยัดเวลา หลักการท างานของอีเมลก็คล้ายกับการส่งจดหมายธรรมดา นั้นคือ จะต้องมีที่อยู่ที่ระบุชัดเจน ก็คือ อีเมลแอดเดรส (E-mail address)


องค์ประกอบของ e-mail address ประกอบด้วย

1. ชื่อผู้ใช้ (User name)
2. ชื่อโดเมน Username@domain_name

การใช้งานอีเมล สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ

       1. Corporate e-mail คือ อีเมล ที่หน่วยงานต่างๆสร้างขึ้นให้กับพนักงานหรือบุคลากรในองค์กรนั้น เช่น u47202000@dusit.ac.th คือ e-mail ของนักศึกษาของสถาบันราชภัฏสวนดุสิต เป็นต้น
      2. Free e-mail คือ อีเมล ที่สามารถสมัครได้ฟรีตาม web mail ต่างๆ เช่น Hotmail, Yahoo Mail, Thai Mail และ Chaiyo Mail
      3. บริการโอนย้ายไฟล์ (File Transfer Protocol) เป็นบริการที่เกี่ยวข้องกับการโอนย้ายไฟล์ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต การโอนย้ายไฟล์สามารถแบ่งได้ดังนี้ คือ

               1. การดาวน์โหลดไฟล์ (Download File ) การดาวน์โหลดไฟล์ คือ การรับข้อมูลเข้ามายังเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้ ในปัจจุบันมีหลายเว็บไซต์ที่จัดให้มีการดาวน์โหลดโปรแกรมได้ฟรีเช่น www.download.com
                2. การอัพโหลดไฟล์ (Upload File) การอัพโหลดไฟล์คือการน าไฟล์ข้อมูลจากเครื่องของผู้ใช้ไปเก็บไว้ในเครื่องที่ให้บริการ (Server) ผ่านระบบอินเทอร์เน็ต เช่น กรณีที่ทการส ร้างเว็บไซต์ จะมีการอัพโหลดไฟล์ไปเก็บไว้ในเครื่องบริการเว็บไซต์ (Web server ) ที่เราขอใช้บริการพื้นที่ (web server) โปรแกรมที่ช่วยในการอัพโหลดไฟล์เช่น FTP Commander
        4. บริการสนทนาบนอินเทอร์เน็ต (Instant Message) สนทนาบนอินเทอร์เน็ตคือ การ ส่งข้อความถึงกันโดยทันทีทันใด นอกจากนี้ยังสามารถส่งสัญลักษณ์ต่างๆ อาทิ รูปภาพ ไฟล์ข้อมูลได้ด้วย การสนทนาบนอินเทอร์เน็ตเป็นโปรแกรมที่กลังได้รับความนิยมในปัจจุบัน โปรแกรมประเภทนี้ เช่น โปรแกรม ICQ (I seek you) MSN Messenger, Yahoo Messenger เป็นต้น
        5. บริการค้นหาข้อมูลบนอินเทอร์เน็ต

               1. Web directory คือ การค้นหาโดยการเลือก Directory ที่จัดเตรียมและแยกหมวดหมู่ไว้ให้เรียบร้อยแล้ว website ที่ให้บริการ web directory เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com
               2. Search Engine คือ การค้นหาข้อมูลโดยใช้โปรแกรม Search โดยการเอาคที่เราต้องการค้นหาไปเทียบกับเว็บไซต์ต่างๆ ว่ามีเว็บไซต์ใดบ้างที่มีคที่เราต้องการค้นหา website ที่ให้บริการ search engine เช่น www.yahoo.com, www.sanook.com, www.google.co.th, www.sansarn.com
              3. Metasearch คือ การค้นหาข้อมูลแบบ Search engine แต่จะทการส่งคที่ต้องการไปค้นหาในเว็บไซต์ที่ให้บริการสืบค้นข้อมูลอื่นๆ อีก ถ้าข้อมูลที่ได้มีซ้ำกัน ก็จะแสดงเพียงรายการเดียว เว็บไซต์ที่ให้บริการ Metasearch เช่น www.search.com, www.thaifind.com
        6. บริการกระดานข่าวหรือ เวบบอร์ด (Web board) เว็บบอร์ด เป็นศูนย์กลางในการแสดงความคิดเห็น มีการตั้งกระทู้ ถาม-ตอบ ในหัวข้อที่สนใจ เว็บบอร์ดของไทยที่เป็นที่นิยมและมีคนเข้าไปแสดงความคิดเห็นมากมาย คือ เว็บบอร์ดของพันธ์ทิพย์ (www.pantip.com)
        7. ห้องสนทนา (Chat Room) ห้องสนทนา คือ การสนทนาออนไลน์อีกประเภทหนึ่ง ที่มีการส่งข้อความสั้นๆ ถึงกัน การเข้าไปสนทนาจเป็นต้องเข้าไปในเว็บไซต์ที่ให้บริการห้องสนทนาเช่น www.sanook.com www.pantip.com


อินเทอร์เน็ต internet
สื่ออินเตอร์เน็ตมีความสำตัญต่อในชีวิตประจำวันมาก
เพราะอินเตอร์เน็ตมีความสะดวก สบาย และรวดเร็วในการใช้

ยุคของอินเทอร์เน็ต

           อินเตอร์เน็ตเป็น ระบบเครือข่ายที่มีการพัฒนามาต่อเนื่องไม่น้อยกว่าสามสิบปีแล้ว ในตลอดช่วงพัฒนาการของอินเตอร์เน็ตนั้น สามารถแบ่งได้เป็นสามยุคด้วยกัน
"Internet 1.0"
          ยุคแรกเป็น ยุคของการเชื่อมต่อเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคล (Human-to-Human Communication) ในยุคนี้พัฒนาการของอินเตอร์เน็ตจะเป็นเพื่อการสื่อสารระหว่างบุคคลที่ใช้ อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต เทคโนโลยีที่สคัญที่พัฒนาใช้งานกับอินเตอร์เน็ตเพื่อการสื่อสารในยุคนี้ได้แก่ อีเมล (Email) และ ยูสเน็ต (UseNet)

        อีเมลเป็นเทคโนโลยีที่ยังมีการใช้งานในปัจจุบัน นอกจากการสื่อสารระหว่างบุคคลแล้วอีเมลได้มีการประยุกต์ใช้เพื่อการสื่อสาร ระหว่างบุคคลกับกลุ่มบุคคล (Human-to-Community Communication) ด้วย เทคโนโลยีเพื่อการนี้เรียกว่า เมลลิ่งลิสต์ (Mailing List) ซึ่งก็ยังมีการใช้งานอยู่เช่นกัน
       ส่วน UseNet ได้รับความนิยมลดน้อยลง แต่ก็ยังมีการใช้งานอยู่อย่างสม่ำเสมอจากผู้ใช้ที่ใช้งานมาตั้งแต่ในอดีต ผู้ให้บริการ UseNet รายสคัญในปัจจุบันคือ Google ภายใต้ชื่อ Google Groups นั่นเอง
"Internet 2.0"
          ยุคต่อมาเป็น ยุคของการเชื่อมต่อเพื่อสื่อสารระหว่างบุคคลกับคอมพิวเตอร์ (Human-to-Computer Communication) เทคโนโลยีสคัญที่พัฒนาขึ้นเพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตในยุคนี้ได้แก่ เว็บ (Web หรือ World Wide Web) เว็บเปิดโอกาสให้บุคคลสามารถเข้าใช้คอมพิวเตอร์เพื่อทงานใดงานหนึ่งจากระยะไกลได้ผ่านกระบวนการใช้งานที่เป็นมาตราฐานเดียวกัน
       ก่อนหน้าเทคโนโลยีเว็บ การใช้งานคอมพิวเตอร์จากระยะไกลจะเป็นการใช้งาน “เครื่องคอมพิวเตอร์” เพื่อทงาน ด้วยเทคโนโลยีเว็บทให้การใช้งานคอมพิวเตอร์จากระยะไกลเป็นการใช้งาน “ระบบงาน” เพื่อทงาน
        อธิบายในรายละเอียดของความแตกต่างดังกล่าวจะได้ว่า ในอดีตผู้ใช้ต้องใช้โปรแกรมจลองหน้าจอเพื่อเข้าใช้เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องใดเครื่องหนึ่งแล้วใช้โปรแกรมในเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นทงาน ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตยุคแรกๆ ของ ม.สงขลานครินทร์จะจได้ ว่าต้อง “telnet” มาใช้เครื่อง “ratree.psu.ac.th” เพื่อใช้ “pine” ในการรับส่งอีเมลเป็นต้น แต่ด้วยเทคโนโลยีเว็บผู้ใช้ที่ต้องการรับส่งอีเมลจะใช้โปรแกรม Web Browser เปิดเว็บที่ http://webmail.psu.ac.th/


          นอกจากนี้เว็บยังเปิดโอกาสให้ผู้ใช้ได้ใช้วิธีการใช้งานเดียวกันนั้น (ผ่าน Web Browser) เพื่อใช้ “ระบบงาน” อาทิเช่น “ระบบสารสนเทศบุคลากร ม.สงขลานครินทร์” ที่ http://dss.psu.ac.th/ “ระบบธนาคารไทยพาณิชย์” ที่ http://www.scbeasy.com ระบบสั่งซื้อสินค้า ที่ http://amazon.com/ เป็นต้น
สังเกตว่าผู้ใช้ไม่จเป็นต้องรู้ “ที่อยู่เครื่องคอมพิวเตอร์” เพียงแต่รู้ “ที่อยู่ของระบบงาน” เท่านั้น แม้ว่าที่อยู่ของเครื่องจะแฝงอยู่ในที่อยู่ของระบบงานแต่ก็ไม่ได้เป็นปัจจัยหลัก อาทิเช่น http://www.scb.co.th และ
http://www.scbeasy.com ต่างเป็นที่อยู่ของระบบงานที่อาจอยู่ในเครื่องเดียวกัน อยู่คนละเครื่องแต่อยู่ในระบบเครือข่ายเดียวกัน หรืออยู่ต่างเครือข่าย ก็ไม่มีความจ าเป็นที่ผู้ใช้จะต้องรู้
         กล่าวโดยสรุปคือในมุมมองเชิงแนวความคิด (Conceptual Prospective) แล้ว เว็บทำให้การใช้งานอินเตอร์เน็ตเปลี่ยนจากการอยู่บนพื้นฐานของ “เครื่อง” เป็น “ระบบ”
"Internet 3.0"
         ยุคที่สามของอินเตอร์เน็ตเป็นยุคที่เรากลังจะก้าวไป สู่เป็น ยุคของการสื่อสารเพื่อการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์ (Computer-to-Computer Communication) รายละเอียดในเชิงแนวความคิดของยุคนี้เป็นเรื่องราวที่ต้องทความเข้าใจกันมากทีเดียว เนื่องจากยุคนี้ “ยังมาไม่ถึง” และจะเป็นยุคที่สคัญมากของการใช้งานอินเตอร์เน็ตเพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติทีเดียว

        เมื่อกล่าวว่าเป็นการเชื่อมต่อระหว่างคอมพิวเตอร์กับคอมพิวเตอร์เป็นในยุค ที่สาม ผู้อ่านอาจสงสัยว่าคอมพิวเตอร์ก็ต้องเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์อยู่แล้วเพื่อ ให้เกิดอินเตอร์เน็ตไม่ใช่หรือ ทไมพึ่งมาเชื่อมเอาในยุคที่สาม?

        “การเชื่อมต่อ” ในบทความนี้ที่กล่าวมาเป็นการกล่าวถึงการเชื่อมต่อในระดับของสารสนเทศ (Information) ซึ่งเป็นการเชื่อมต่อในระดับที่สูงกว่าใน “การรับรู้ความหมาย” กว่าการเชื่อมต่อเพื่อการส่งผ่านข้อมูล (Data Communication)

        ในยุคที่สามนี้จะเป็นยุคที่ “ระบบงาน” จะติดต่อสื่อสารกันเพื่อให้สารสนเทศซึ่งกันและกันเพื่อให้บริการแก่ผู้ใช้ กล่าวคือในมุมมองเชิงแนวความคิด (Conceptual Prospective) แล้ว ในยุคนี้ “ระบบงาน” จะให้ “บริการ” สารสนเทศของตนแก่ระบบงานอื่นๆ และใช้บริการสารสนเทศจากระบบงานอื่นๆ เพื่อประกอบเป็นบริการของตนให้แก่ผู้ใช้
อินเทอร์เน็ต internet หน้าตาของเว็บไซต์ต่างๆ

"Web 2.0"

           จะเห็นได้ว่าในยุคที่สามนี้จะมีการกล่าวถึง “บริการ” ระหว่างกันและในการติดต่อสื่อสารของข้อมูลในระบบนี้ก็ยังผ่านเทคโนโลยีพื้น ฐานบางอย่างของเว็บ ดังนั้นนักการตลาดของหลายบริษัทจึงใช้คว่า “Web Services” แทนความหมายของยุคที่สามนี้ ในขณะนี้ศัพท์ที่เป็นที่นิยมอีกคหนึ่ง ที่จะแทนความหมายของยุคนี้คือ “Web 2.0” (ควรอ่านว่า Web Two Point Oh อย่าอ่านว่าเว็บสองจุดศูนย์) ขอให้ผู้อ่านเข้าใจว่าศัพท์เหล่านี้เป็นศัพท์กว้างๆ เพื่อความหมายเชิงการตลาดมากกว่าที่จะมีความหมายเชิงเทคโนโลยี
        ในยุคที่สามของอินเตอร์เน็ตนั้น ถือได้ว่าเป็นยุคที่สองของเว็บ ความหมายของยุคที่สองของเว็บได้มีผู้อธิบายไว้หลากหลาย แต่ยุคที่สองของเว็บจะอธิบายได้ชัดเจนต้องอธิบายด้วยการนสถานะของผู้ใช้และการเข้าถึงข้อมูลเป็นตัวตั้ง

         ในคอธิบายในสถานะของผู้ใช้นั้น ในยุคแรกของเว็บจะเป็นยุค “เว็บเพื่ออ่านอย่างเดียว” (Read-Only Web) ในยุคนี้ผู้อ่านและผู้เขียนจะแยกกันอย่างชัดเจน คนเขียนจะมีหน้าที่เขียนส่วนคนอ่านจะมีหน้าที่อ่าน ไม่ปะปนกัน ส่วนในยุคที่สองจะเป็นยุค “เว็บเพื่อการอ่านและเขียน” (Read-Write Web) ในยุคนี้ผู้อ่านและผู้เขียนจะเป็นบุคคลเดียวกัน

        ส่วนคอธิบายว่าด้วยการเข้าถึงข้อมูลนั้น ในยุคแรกเว็บจะมี “Site” เป็นเว็บไซต์ (Web Site) นั่นคือสารสนเทศจะมีที่อยู่ที่แน่นอน แต่ในยุคที่สองเว็บจะไม่มี “Site” อีกต่อไป สารสนเทศจะเกิดการแลกเปลี่ยนกันโดยระบบงานเพื่อไปหาผู้ใช้ กล่าวอีกมุมหนึ่งคือ ในยุคแรกผู้ใช้ต้อง “ไปหา” สารสนเทศ แต่ยุคที่สองสารสนเทศจะ “มาหา” ผู้ใช้นั่นเอง
"Outlook from Thailand"
            ในขณะนี้อินเตอร์เน็ตลังก้าวสู่ยุคที่สาม และเว็บซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของยุคของอินเตอร์เน็ตนั้นก็กลัง ก้าวสู่ยุคที่สอง ความหวังของเราในฐานะนักพัฒนาซอฟท์แวร์ในประเทศไทยคือเราจะได้เป็นผู้ส่งออก เทคโนโลยีที่เป็นส่วนหนึ่งของยุคใหม่ที่กลังจะมาถึงนี้ นพาประเทศไทยให้ปรากฎในแผนที่โลกว่าเราก็เป็นหนึ่งใน “ผู้ให้” เทคโนโลยีแก่ชาวโลกเช่นเดียวกัน  


ขอบคุณที่มาจาก
 http://www.dmc.tv/pages/%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%A3%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%A7/%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4-%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%82%E0%B8%A2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B9%8C-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%83%E0%B8%8A%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%AD%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B9%87%E0%B8%95.html

วันอาทิตย์ที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556